จดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนบริษัท จดภาษีมูลค่าเพิ่มแตกต่างกันอย่างไร

จดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนบริษัท จดภาษีมูลค่าเพิ่มแตกต่างกันอย่างไร?

จดทะเบียนพาณิชย์ คืออะไร?

ใบทะเบียนพาณิชย์ ที่ใครหลายๆ คนมักเข้าใจผิด ว่าการจดทะเบียนภาษีคือ การเข้าสู่ระบบภาษีแล้ว และได้เสียภาษีแล้ว “การจดทะเบียนพาณิชย์ไม่ใช่การเสียภาษี” แต่เป็น “การจดแจ้งต่อกรมธุรกิจการค้า เพื่อแสดงว่าธุรกิจของคุณมีตัวตนเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ

ส่วนการเสียภาษีเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย ต่อให้ไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดยังไงก็ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีผู้จดทะเบียนพาณิชย์ในนามบุคคลธรรมดามีภาระหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งในหนึ่งปี ต้องยื่นภาษี 2 ครั้ง คือแบบ ภ.ง.ด. 94 ภาษีครึ่งปี, แบบ ภ.ง.ด.90 ภาษีทั้งปี โดยลักษณะของการหักต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายมีให้เลือกแบบหักค่าใช้จ่ายจริงต้องมีเอกสารหลักฐานหรือจะหักแบบเหมาจ่ายตามอัตราร้อยละที่กฎหมายกําหนด ซึ่งก็ควรดูตามความเหมาะสมของประเภทธุรกิจว่าแบบใดจะเสียภาษีน้อยกว่า ส่วนจะเสียภาษีมากน้อยหรือไม่ เสียภาษีขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนของแต่ละบุคคล

ใครต้องจดทะเบียนพาณิชย์บ้าง?

คนที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ อธิบายง่ายๆก็คือคนที่ทำมาค้าขายหรือให้บริการค ซึ่งไม่ว่าจะทำในนามบุคคลธรรมดาหรือบริษัท ถ้าเริ่มทำมาค้าขายตามธุรกิจในลิสนี้เมื่อไร ให้ไปจดทะเบียนพาณิชย์ได้เลย   

ส่วนการเสียภาษีเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย ต่อให้ไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดยังไงก็ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีผู้จดทะเบียนพาณิชย์ในนามบุคคลธรรมดามีภาระหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งในหนึ่งปี ต้องยื่นภาษี 2 ครั้ง คือแบบ ภ.ง.ด. 94 ภาษีครึ่งปี, แบบ ภ.ง.ด.90 ภาษีทั้งปี โดยลักษณะของการหักต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายมีให้เลือกแบบหักค่าใช้จ่ายจริงต้องมีเอกสารหลักฐานหรือจะหักแบบเหมาจ่ายตามอัตราร้อยละที่กฎหมายกําหนด ซึ่งก็ควรดูตามความเหมาะสมของประเภทธุรกิจว่าแบบใดจะเสียภาษีน้อยกว่า ส่วนจะเสียภาษีมากน้อยหรือไม่ เสียภาษีขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนของแต่ละบุคคล

จดทะเบียนบริษัท คืออะไร?

จดทะเบียนบริษัท คือ การจดทะเบียนเพื่อขอเป็นนิติบุคคลรูปแบบหนึ่ง ซึ่งนิติบุคคลนี้จะแยกต่างหากออกจากตัวเราซึ่งเป็น “บุคคลธรรมดา”  จดทะเบียนบริษัท กับจดทะเบียนนิติบุคคล มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

“การจดทะเบียนบริษัท” ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งปกติแล้วนิติบุคคลนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ในปัจจุบันเจ้าของธุรกิจมักเลือกจดทะเบียนแบบบริษัทมากกว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดเพราะว่าดูน่าเชื่อถือกว่า ส่วนบริษัทมหาชนจำกัดนั้น หมายถึง บริษัทจำกัดที่ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งอาจเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับเจ้าของธุรกิจ

เงื่อนไขในการจดทะเบียนบริษัท

การจดทะเบียนบริษัท ตามกฎหมายกำหนดไว้ว่า ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกัน แล้วก็กำหนดทุนและแบ่งหุ้นกันให้เรียบร้อยและตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ.2566 เป็นต้นไป กฎหมายได้มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยโดยกำหนดให้การจดทะเบียนบริษัทมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 2 คนได้

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร?

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT เป็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทก็ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ให้กับกรมสรรพากร

ข้อดีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร?

1. ขอคืนภาษีซื้อได้ เมื่อบริษัทจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ที่เกิดจากการที่บริษัทไปซื้อหรือใช้บริการจากที่อื่น จะสามารถบันทึกเป็นภาษีซื้อและทำการขอคืนได้

2. การจัดการบัญชีเป็นระบบ ตรวจสอบได้ง่าย เมื่อทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว บริษัทจะต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย เพื่อยื่นให้กับกรมสรรพากร ทำให้ต้องมีการลงบัญชีรายการซื้อ-ขาย เก็บเอกสารใบกำกับภาษีอย่างเป็นระบบ เมื่อจัดการบัญชีได้อย่างเป็นระบบ

3. เพิ่มโอกาสในการขาย ปิดการขายได้ง่าย ในมุมของลูกค้า ส่วนใหญ่ต้องการใบกำกับภาษี โดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นในนามบริษัท เพราะต้องการนำไปใช้บันทึกภาษีซื้อเพื่อลดภาระภาษี ดังนั้นบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีโอกาสขายที่มากกว่า ช่วยเพิ่มโอกาสให้กับกิจการได้

4. กิจการมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น การจด VAT เป็นเหมือนเครื่องหมายยืนยันว่าบริษัทของคุณมีตัวตนอยู่จริง เชื่อถือได้ เพราะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้รับการตรวจสอบจากกรมสรรพากรและมีชื่ออยู่ในระบบของสรรพากรด้วย ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้คู่ค้า

 GDC Firm เราไม่เพียงแค่ให้บริการเท่านั้น เราทุ่มเทเพื่อความสำเร็จของคุณด้วย ทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์ของเราพร้อมเพื่อเพิ่มโอกกาสในธุรกิจ ลดความเสี่ยง พร้อมที่จะให้คำปรึกษาคุณ ติดต่อเรา และเริ่มต้นธุรกิจของคุณไปด้วยกันกับ  GDC Firm เราพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของคุณ คุณคือสิ่งที่สำคัญที่สุดของเรา

 ติดต่อเรา

 (+66) 858805501

 (+66) 830946451

 (+66) 638345497