จดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนบริษัท จดภาษีมูลค่าเพิ่มแตกต่างกันอย่างไร

จดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนบริษัท จดภาษีมูลค่าเพิ่มแตกต่างกันอย่างไร?

จดทะเบียนพาณิชย์ คืออะไร?

ใบทะเบียนพาณิชย์ ที่ใครหลายๆ คนมักเข้าใจผิด ว่าการจดทะเบียนภาษีคือ การเข้าสู่ระบบภาษีแล้ว และได้เสียภาษีแล้ว “การจดทะเบียนพาณิชย์ไม่ใช่การเสียภาษี” แต่เป็น “การจดแจ้งต่อกรมธุรกิจการค้า เพื่อแสดงว่าธุรกิจของคุณมีตัวตนเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ

ส่วนการเสียภาษีเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย ต่อให้ไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดยังไงก็ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีผู้จดทะเบียนพาณิชย์ในนามบุคคลธรรมดามีภาระหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งในหนึ่งปี ต้องยื่นภาษี 2 ครั้ง คือแบบ ภ.ง.ด. 94 ภาษีครึ่งปี, แบบ ภ.ง.ด.90 ภาษีทั้งปี โดยลักษณะของการหักต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายมีให้เลือกแบบหักค่าใช้จ่ายจริงต้องมีเอกสารหลักฐานหรือจะหักแบบเหมาจ่ายตามอัตราร้อยละที่กฎหมายกําหนด ซึ่งก็ควรดูตามความเหมาะสมของประเภทธุรกิจว่าแบบใดจะเสียภาษีน้อยกว่า ส่วนจะเสียภาษีมากน้อยหรือไม่ เสียภาษีขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนของแต่ละบุคคล

ใครต้องจดทะเบียนพาณิชย์บ้าง?

คนที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ อธิบายง่ายๆก็คือคนที่ทำมาค้าขายหรือให้บริการค ซึ่งไม่ว่าจะทำในนามบุคคลธรรมดาหรือบริษัท ถ้าเริ่มทำมาค้าขายตามธุรกิจในลิสนี้เมื่อไร ให้ไปจดทะเบียนพาณิชย์ได้เลย   

ส่วนการเสียภาษีเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย ต่อให้ไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดยังไงก็ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีผู้จดทะเบียนพาณิชย์ในนามบุคคลธรรมดามีภาระหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งในหนึ่งปี ต้องยื่นภาษี 2 ครั้ง คือแบบ ภ.ง.ด. 94 ภาษีครึ่งปี, แบบ ภ.ง.ด.90 ภาษีทั้งปี โดยลักษณะของการหักต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายมีให้เลือกแบบหักค่าใช้จ่ายจริงต้องมีเอกสารหลักฐานหรือจะหักแบบเหมาจ่ายตามอัตราร้อยละที่กฎหมายกําหนด ซึ่งก็ควรดูตามความเหมาะสมของประเภทธุรกิจว่าแบบใดจะเสียภาษีน้อยกว่า ส่วนจะเสียภาษีมากน้อยหรือไม่ เสียภาษีขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนของแต่ละบุคคล

จดทะเบียนบริษัท คืออะไร?

จดทะเบียนบริษัท คือ การจดทะเบียนเพื่อขอเป็นนิติบุคคลรูปแบบหนึ่ง ซึ่งนิติบุคคลนี้จะแยกต่างหากออกจากตัวเราซึ่งเป็น “บุคคลธรรมดา”  จดทะเบียนบริษัท กับจดทะเบียนนิติบุคคล มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

“การจดทะเบียนบริษัท” ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งปกติแล้วนิติบุคคลนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ในปัจจุบันเจ้าของธุรกิจมักเลือกจดทะเบียนแบบบริษัทมากกว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดเพราะว่าดูน่าเชื่อถือกว่า ส่วนบริษัทมหาชนจำกัดนั้น หมายถึง บริษัทจำกัดที่ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งอาจเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับเจ้าของธุรกิจ

เงื่อนไขในการจดทะเบียนบริษัท

การจดทะเบียนบริษัท ตามกฎหมายกำหนดไว้ว่า ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกัน แล้วก็กำหนดทุนและแบ่งหุ้นกันให้เรียบร้อยและตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ.2566 เป็นต้นไป กฎหมายได้มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยโดยกำหนดให้การจดทะเบียนบริษัทมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 2 คนได้

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร?

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT เป็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทก็ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ให้กับกรมสรรพากร

ข้อดีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร?

1. ขอคืนภาษีซื้อได้ เมื่อบริษัทจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ที่เกิดจากการที่บริษัทไปซื้อหรือใช้บริการจากที่อื่น จะสามารถบันทึกเป็นภาษีซื้อและทำการขอคืนได้

2. การจัดการบัญชีเป็นระบบ ตรวจสอบได้ง่าย เมื่อทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว บริษัทจะต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย เพื่อยื่นให้กับกรมสรรพากร ทำให้ต้องมีการลงบัญชีรายการซื้อ-ขาย เก็บเอกสารใบกำกับภาษีอย่างเป็นระบบ เมื่อจัดการบัญชีได้อย่างเป็นระบบ

3. เพิ่มโอกาสในการขาย ปิดการขายได้ง่าย ในมุมของลูกค้า ส่วนใหญ่ต้องการใบกำกับภาษี โดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นในนามบริษัท เพราะต้องการนำไปใช้บันทึกภาษีซื้อเพื่อลดภาระภาษี ดังนั้นบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีโอกาสขายที่มากกว่า ช่วยเพิ่มโอกาสให้กับกิจการได้

4. กิจการมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น การจด VAT เป็นเหมือนเครื่องหมายยืนยันว่าบริษัทของคุณมีตัวตนอยู่จริง เชื่อถือได้ เพราะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้รับการตรวจสอบจากกรมสรรพากรและมีชื่ออยู่ในระบบของสรรพากรด้วย ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้คู่ค้า

 GDC Firm เราไม่เพียงแค่ให้บริการเท่านั้น เราทุ่มเทเพื่อความสำเร็จของคุณด้วย ทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์ของเราพร้อมเพื่อเพิ่มโอกกาสในธุรกิจ ลดความเสี่ยง พร้อมที่จะให้คำปรึกษาคุณ ติดต่อเรา และเริ่มต้นธุรกิจของคุณไปด้วยกันกับ  GDC Firm เราพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของคุณ คุณคือสิ่งที่สำคัญที่สุดของเรา

 ติดต่อเรา

 (+66) 858805501

 (+66) 830946451

 (+66) 638345497

เอกสารสำหรับขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน

เอกสารสำหรับขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน

1.คำขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน 

2.หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ในกรณีผู้ขอเป็นนิติบุคคล) คัดสำเนาไม่เกิน 3 เดือน

3.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน หรือหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

4.หนังสือมอบอำนาจ

5.เอกสารแสดงการมีสิทธิ์ใช้ที่ดิน เช่น สำเนาโฉนด แบบแปลนแผนผังอาคารโรงงาน ลงนามรับรองความปลอดภัยโดยวิศวกรควบคุม

6.แผนผังแสดงการติดตั้งเครื่องจักร รับรองความปลอดภัยโดยวิศวกร

7.สำเนาหนังสืออนุญาตก่อสร้าง

8.ขั้นตอนการผลิตโดยละเอียด

9.เอกสารอื่นๆตามที่เจ้าหน้าที่กำหนด เช่น รายงานประเมินความเสี่ยง 

 ขั้นตอนในพิจารณาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)

 เอกสารสำหรับขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน

หลังจากที่ท่านผู้ประกอบการกรอกข้อมูลในคำขอและเตรียมเอกสารครบถ้วน

ขั้นต่อไปคือการยื่นเอกสารกับทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมโดยยื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมตามจังหวัดที่โรงงานของท่านตั้งอยู่ สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครสามารถยื่นออนไลน์ ส่วนขั้นตอนในการพิจารณาอนุญาตโรงงานนั้นใช้เวลาประมาณ 30 วัน โดยมีขั้นตอนเบื้องต้นดังต่อไปนี้

1.ผู้ประกอบการยื่นคำขอพร้อมเอกสารประกอบ

2.เจ้าหน้าที่พิจารณาความครบถ้วนถูกต้องของเอกสาร

3.เจ้าหน้าที่ลงรับเรื่อง

4.เจ้าหน้าตรวจสอบและพิจารณาการประกอบกิจการกระบวนการผลิตทำเลที่ตั้งการป้องกันเหตุเดือนร้อนรำคาญ และการบำบัดมลพิษ พร้อมจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจสอบ

5.เจ้าหน้าที่แจ้งผลการพิจารณาต่อผู้ประกอบการหากอนุมัติจึงดำเนินการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ร.ง.4 หรือหากไม่อนุมัติผู้ประกอบการมีสิทธิ์อุทธรณ์ภายใน 30 วัน

 GDC Firm เราไม่เพียงแค่ให้บริการเท่านั้น เราทุ่มเทเพื่อความสำเร็จของคุณด้วย ทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์ของเราพร้อมเพื่อเพิ่มโอกกาสในธุรกิจ ลดความเสี่ยง พร้อมที่จะให้คำปรึกษาคุณ ติดต่อเรา และเริ่มต้นธุรกิจของคุณไปด้วยกันกับ  GDC Firm เราพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของคุณ คุณคือสิ่งที่สำคัญที่สุดของเรา

 ติดต่อเรา

 (+66) 858805501

 (+66) 830946451

 (+66) 638345497

ขอใบอนุญาตเปิดโรงงาน

ทำไมต้องขออนุญาตตั้งโรงงาน?

ทำไมต้องขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน

การใช้สถานที่เพื่อตั้งเป็นโรงงาน ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ทางการ เพื่อให้การดำเนินงานอยู่ภายใต้การควบคุมไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อสังคม ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและด้านอื่นๆ ทำให้การขออนุญาตตั้งโรงงานเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปฏิบัติตามกฏหมายและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยประเภทโรงงานที่ต้องทำการแจ้งประกอบกิจการหรือขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน คือโรงงานที่มีเครื่องจักรขนาดตั้ง 50 แรงม้า หรือหรือคนงาน 50 คน ขึ้นไป ซึ่งจะต้องดำเนินตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดไว้

ประเภทของโรงงานที่ต้องขออนุญาต

  • โรงงานจำพวกที่ 1 จะไม่ขึ้นอยู่กับขนาดแรงม้าของเครื่องจักรหรือจำนวนคนงาน แต่จะขึ้นอยู่กับประเภทของโรงงาน ซึ่งได้แก่ โรงงานการฟักไข่โดยใช้ตู้อบทุกขนาด โรงงานทำน้ำตาลจากมะพร้าว โรงงานซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนังทุกขนาด โรงงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องมือไฟฟ้า โรงงานล้างรถยนต์ โรงงานซ่อมนาฬิกาหรือเครื่องประดับ โรงงาน โรงงานลงรักหรือประดับตกแต่งด้วยแก้ว มุก กระจก ทองหรืออัญมณี กำหนดให้โรงงานที่กล่าวไปทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นโรงงานจำพวกที่ 1 

  • โรงงานจำพวกที่ 2 ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่ที่มีเครื่องจักรขนาดมากกว่า 50 แรงม้า แต่ไม่เกิน 75 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 50 คน แต่ไม่เกิน 75 คน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับประเภทของโรงงานด้วยเพราะตามกฏกระทรวงฉบับนี้มีโรงงานหลายประเภทด้วยกันที่ถูกจำแนกเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนแรงม้าหรือจำนวนคนงาน

  • โรงงานจำพวกที่ 3 ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่ที่มีเครื่องจักรขนาดมากกว่า 75  แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 75 คน โดยใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานที่ได้รับจะเรียกว่าใบ รง. 4  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมีตามกฎกระทรวงฉบับนี้มีโรงงานหลายประเภทด้วยกันที่ถูกจำแนกเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนแรงม้าหรือจำนวนคนงาน ยกตัวอย่างเช่น โรงงานเกี่ยวกับน้ำมันจากพืชและสัตว์ โรงงานผลิตแอลกอฮอร์ โรงงานฟอกย้อมสี โรงงานเกี่ยวกับไม้ เป็นต้น

เงื่อนไขการขออนุญาตตั้งโรงงานและใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)

  • สำหรับโรงงานจำพวกที่ 2 ก่อนดำเนินกิจการ ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนเริ่มดำเนินงานประกอบกิจการ เมื่อจะเริ่มประกอบกิจการโรงงานให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเสียก่อน

  • สำหรับโรงงานจำพวกที่ 3 จะต้องดำเนินการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ก่อนประกอบกิจการ ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 โดยใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานที่ได้รับคือใบ ร.ง.4 

ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน

(ร.ง.4) คืออะไร?

คือใบอนุญาตที่ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมออกให้สำหรับโรงงาน ประเภทที่ 3 ที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานได้ โดยเป็นโรงงานที่มี เครื่องจักรมากกว่า 75  แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 75 คน ในปัจจบันตาม พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ร.ง. 4 นั้นไม่มีหมดอายุ ดังนั้นจึงไม่ต้องมีการต่ออายุของใบ ร.ง. 4 ค่ะ แต่ยังคงต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมโรงงงานรายปีตามกำลังแรงม้าที่ใช้น

คำแนะนำก่อนการขอใบอนุญาตเปิดโรงงาน

ควรติดต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามแต่เขตจังหวัดที่โรงงานของท่านตั้งอยู่เพื่อทำการข้อคำแนะนำเพิ่มเติมด้านเอกสารและวิธีการดำเนินการขอ เพื่อความราบรื่นในการจัดเตรียมเอกสารต่างๆ จากนั้นจะเป็นขั้นตอนในการจัดเตรียมเอกสารในการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือ ร.ง.4  ทางเจ้าหน้าที่อาจมีเรียกขอเอกสารประกอบเพิ่มเติมแล้วแต่ประเภทของโรงงาน เช่น รายงานประเมินความเสี่ยง เป็นต้น 

 GDC Firm เราไม่เพียงแค่ให้บริการเท่านั้น เราทุ่มเทเพื่อความสำเร็จของคุณด้วย ทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์ของเราพร้อมเพื่อเพิ่มโอกกาสในธุรกิจ ลดความเสี่ยง  พร้อมที่จะให้คำปรึกษาคุณ ติดต่อเรา และเริ่มต้นธุรกิจของคุณไปด้วยกันกับ  GDC Firm เราพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของคุณ คุณคือสิ่งที่สำคัญที่สุดของเรา

 ติดต่อเรา

 (+66) 858805501

 (+66) 830946451

 (+66) 638345497

 contact@gdcfirm.com